สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 มีนาคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,843 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,928 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,549 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,930 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.32
 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,024 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,328 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,025 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,732 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 596 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 502 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,339 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 510 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,286 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 53 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,753 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 489 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,616 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 137 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,729 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,701 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 28 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5470
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2562/63 ณ เดือนมีนาคม 2563
มีผลผลิต 499.309 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 499.372 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2561/62 หรือลดลงร้อยละ 0.01
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2562/63 ณ เดือนมีนาคม 2563 มีปริมาณผลผลิต 499.309 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.01 การใช้ในประเทศ 492.325 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 1.17 การส่งออก/นำเข้า 44.510 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 2.86 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 182.303 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 3.98
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา จีน อียู กายานา อินเดีย แอฟริกาใต้ เวียดนาม  และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปากีสถาน ปารากวัย รัสเซีย ไทย และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา
อียู กินี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เคนย่า เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน อิหร่าน อิรัก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ และเซเนกัล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย และสหรัฐอเมริกา

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          ภัยแล้งผลผลิตลด-ต่างชาติตื่นโควิดสั่งตุน
          นายสมเกียรติ  มรรคยาธร นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวสารขาวในประเทศขยับสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 15 บาท จากเดือนมกราคม 2563 ที่ราคากิโลกรัมละ 12.50 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 และแนวโน้มราคาจะยังสูงขึ้นอีก จนถึงช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน จนกว่าจะมีผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่ออกสู่ตลาด จึงส่งผลให้ราคาข้าวสารบรรจุถุงอาจต้องปรับขึ้นราคาขายปลีกตามต้นทุนที่สูงขึ้นด้วย จากปัจจุบันที่ราคายังไม่ได้ปรับขึ้นแต่อย่างใด สำหรับข้าวขาวบรรจุถุงปัจจุบันขนาด 5 กิโลกรัม ราคาถุงละ 70-120 บาท แต่มีโอกาสที่ราคาจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นถุงละ 90-150 บาท หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 ขึ้นอยู่กับแบรนด์ของสินค้า ส่วนข้าวหอมมะลิบรรจุถุง ขณะนี้อยู่ที่ถุงละ 160-250 บาท ซึ่งราคายังไม่เปลี่ยนแปลงและไม่มีแนวโน้มปรับขึ้น
          สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้น เพราะปีนี้ภัยแล้งรุนแรงสุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ชาวนาที่กำลังจะเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ 4-5 ล้านไร่ ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 1.5-2.0 ล้านตันข้าวสาร รวมทั้งคำสั่งซื้อจากต่างประเทศมีเข้ามามากขึ้น เพื่อสำรองไว้ช่วงไวรัสโควิค-19 ระบาด
          ส่วนที่คนไทยแห่ซื้อข้าวถุงพร้อมกันจำนวนมากไปสำรองไว้ในช่วงโควิด-19 ระบาด จนข้าวถุงหายไปจากชั้นวางของห้างสรรพสินค้า หรือห้างค้าปลีกสมัยใหม่นั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า ข้าวถุงไม่ขาดแคลนแน่นอน แต่ที่เห็นชั้นวางสินค้าว่างเปล่า เพราะปัจจุบันห้างมีนโยบายไม่เก็บสต็อกสินค้าไว้ที่สาขาจำนวนมาก แต่จะเก็บไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้าแทน โดยให้ผู้ผลิตส่งสินค้ามาที่ศูนย์ก่อนที่ห้างจะนำไปกระจายต่อให้สาขา ทำให้ต้องใช้เวลาส่งสินค้าไปแต่ละสาขา สำหรับ “ความต้องการบริโภคข้าวในประเทศปีนี้ คงไม่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาและอาจจะลดลง เพราะปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปมาก โดยความต้องการบริโภคข้าวในประเทศ ปี 2562 มีจำนวน 7.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากปี 2561 เพราะมีนักท่องเที่ยวเข้ามามาก ซึ่งความต้องการบริโภคในประเทศไม่ถึง 10 ล้านตัน เหมือนในอดีต โดยปีนี้คาดว่าไทยจะผลิตข้าวสารได้ 17.5 ล้านตัน สำหรับตลาดข้าวถุง ปี 2562 มีมูลค่าตลาด 30,000 ล้านบาท แต่ปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากราคาข้าวที่สูงขึ้น”
          ที่มา : ไทยรัฐ
 
          เวียดนามทบทวนส่งออกข้าวรับมือโควิด
          เวียดนามจะระงับการเซ็นข้อตกลงใหม่ในการส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศเอาไว้ก่อน จนถึงอย่างน้อยวันที่ 28 มีนาคม 2563 เพื่อประเมินว่า ในช่วงเวลานี้ผลผลิตข้าวที่มีอยู่เพียงพอกับความต้องการในประเทศหรือไม่ เพราะเวียดนามต้องรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่นกัน ทั้งนี้ นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้แจ้งให้กระทรวงการค้า และกระทรวงเกษตร เสนอรายงานการประเมินผลผลิตและการส่งออกข้าวให้ได้รับทราบ
ในกรอบเวลาที่กำหนดดังกล่าว
          ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามเปิดข้อมูลว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกได้กว่า 9 แสนตัน หากการส่งออกข้าวยังเพิ่มขึ้นในปริมาณนี้ เวียดนามก็อาจประสบภาวะขาดแคลนข้าวไว้บริโภคในประเทศได้
          ทั้งนี้ เมื่อปีที่ผ่านมาเวียดนามส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นที่ 6.37 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.20 ทำให้เวียดนามเป็น
ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย และไทย โดยประเทศที่นำเข้ารายใหญ่จากเวียดนาม ได้แก่ ฟิลิปปินส์ จีน และประเทศในแถบแอฟริกา
          ที่มา : มติชน



กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.48 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.56 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.22 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.07 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 266.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,658 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 266.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,514 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 144 บาท 
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 346.24 เซนต์ (4,492 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 361.08 เซนต์ (4,600 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 108 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.75 ล้านไร่ ผลผลิต 31.104 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.56 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 และร้อยละ 0.08 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.84 โดยเดือนมีนาคม2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.04 ล้านตัน (ร้อยละ 19.42 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.63 ล้านตัน (ร้อยละ 56.68 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมาก แต่ราคาหัวมันสำปะหลังค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง สำหรับลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.89 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.94 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.58
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.02 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.01 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.20
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.97 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.65 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 12.72 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,583 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,441 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,158 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,891 บาทต่อตัน)

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.561 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.281 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.306 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.235 ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 19.53 และร้อยละ 19.57 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.93 บาท ลดลงจาก กก.ละ 4.84 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 18.80                                             
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 24.00 บาท ลดลงจาก กก.ละ 30.70 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 21.82
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ในเดือนมกราคม 2563 อินโดนีเซียส่งออกออกน้ำมันปาล์ม 2.39 ล้านตัน โดยลดลงจากเดือนมกราคม 2562 
ที่ส่งออกไป 3.25 ล้านตัน และลดลงจากเดือนธันวาคม 2562 ที่ส่งออกไป 3.72 ล้านตัน สาเหตุมาจากประเทศนำเข้ามีปริมาณสินค้าคงค้างจำนวนมากร่วมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และความผันผวนของราคาน้ำมัน อินโดนีเซียคาดการณ์ ณ เดือนมีนาคม 2563 การส่งออกน้ำมันปาล์มจะลดลงร้อยละ 32 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,375.14 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.92 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,311.55 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.75  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 633.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 596.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.09  
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ 

รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย และการผลิตน้ำตาลทรายประจำปีการผลิต 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2563 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 74,887,080 ตัน แยกเป็นอ้อยสด 37,703,992 ตัน (ร้อยละ 50.35) และอ้อยไฟไหม้ 37,183,088 ตัน (ร้อยละ 49.65) ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 8,272,291 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 6,242,927 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 2,029,364 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.68 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 110.46 กก.ต่อตันอ้อย
 
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.16 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า จีนนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ 6.10 ล้านตัน ในช่วง 2 เดือนแรก
(ม.ค. - ก.พ 2563) เพิ่มขึ้นจาก 1.04 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้นำเข้าที่ต้องการใช้เพื่อสกัดน้ำมัน ได้รับซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ โดยมีการซื้อจำนวนหลายรอบ หลังจากมีการเจรจาการค้าที่ได้ตกลงกัน
ในเดือนธันวาคม 2561 และหลังจากที่ปักกิ่งกำหนดให้ผู้นำเข้าได้รับการยกเว้นภาษีพิเศษสำหรับสินค้าในสหรัฐฯ
และในขณะเดียวกัน ผู้นำเข้าได้รับซื้อถั่วเหลืองจากบราซิลเพิ่มขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเติมเต็มสินค้าคงเหลือ
ที่ลดลงหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทำให้การผลิตในประเทศหยุดชะงัก
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 878.92 เซนต์ (10.64 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 832.20 เซนต์ (9.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.61
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.78 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 301.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.77 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.36
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 26.29 เซนต์ (19.09 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 25.37 เซนต์ (18.09 บาท/กก. ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.63


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด

 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.25 บาท เพิ่มขึ้นราคากิโลกรัมละ 25.18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 952.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 859.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 876.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 982.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.99 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,002.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 581.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 605.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,336.80 ดอลลาร์สหรัฐ (43.51 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,436.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.95 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.37 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.32 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 43.48
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.38 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 40.17
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.99 เซนต์(กิโลกรัมละ 38.49 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 57.76 เซนต์ (กิโลกรัมละ 41.20 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.26 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.71 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,656 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,721 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.78
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,355 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,381 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.88
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 800 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 850 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.88


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  68.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 67.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.85 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.68 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,000 บาท ลดลงจากตัวละ 2,100 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.76  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.16


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.35 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.12 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  7.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.98 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.01


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ค่อนข้างคึกคักและคล่องตัว ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ของประชาชนทำให้มีความต้องการของไข่ไก่เพิ่มมากขึ้นและซื้อไข่สดเพื่อกักตุนสำรองใช้บริโภค ส่งผลให้ราคาขายปลีกไข่ไก่ในท้องตลาดสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาและความต้องการบริโภคจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 278 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 273 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 305 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 271 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 287 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.76 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 337 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 318 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   


โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.81 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง)
ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.49 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 มีนาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ สะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.93 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 85.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 141.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.12 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.64 บาท ราคา ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.29 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา